ทีมงานวิจัย “โครงการขยายผลระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสารสำหรับประโยชน์สาธารณะ” นำโดย รศ.ดร.ณัฎฐา จินดาเพ็ชร์ ดร.เกียรติศักดิ์ เส้งช่วย และนายอรรถสุนทร ไตรสุวรรณ เป็นตัวแทนนักวิจัย เข้าร่วมงาน “กสทช. เสริมสร้างความรู้ ส่งทุนสร้างสิ่งดีดี” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ณ อาคาเพิร์ล แบงก์ค็อก ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าว ได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส.
 
การจัดแสดงผลงานครั้งนี้ถือเป็นไฮไลต์สำคัญของงานนี้ เพราะเหล่าบรรดานวัตกรไทยต่างพากันสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน ผ่านการนำเสนอแนวคิดที่มาของการพัฒนา จนนำมาสู่ผลงานเทคโนโลยีสุดเจ๋ง โดยผลงานทั้งหมดนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 11 โครงการด้วยกัน ดังนี้
 
1. โครงการสารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย”
2. โครงการขยายผลศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมด้อยโอกาสในกลุ่มบ้านสาขาบนพื้นที่สูง
3. โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มไอโอทีสำหรับการเฝ้าระวังไฟป่าและมลพิษทางอากาศด้วยเทคโนโลยีโลล่า
4. โครงการการศึกษาและพัฒนาหอฟอกอากาศอัจฉริยะโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และระบบควบคุมดูแลผ่านเทคโนโลยีไอโอที เพื่อการลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่สาธารณะ
5. โครงการพัฒนาระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าและระบุตำแหน่งการเผาในที่โล่ง โดยใช้โครงข่ายสื่อสาร อุปกรณ์เซ็นเซอร์ และอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (Drones)
6. โครงการการยกระดับการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์คดีความผิดทางเพศ ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
7.โครงการระบบบริหารข้อมูลนำชมพิพิธภัณฑ์แบบพกพาเพื่อรองรับการใช้งานในพื้นที่จัดแสดงซึ่งมีข้อจำกัดด้านสัญญาณอินเตอร์เน็ต
8. โครงการรายการ กระต่ายตื่นรู้
9. โครงการฝึกอบรม The Metaverse โลกเสมือนจริง ที่กลายเป็นโลกสมจริง (Merge Reality Become Reality)
10. โครงการยกระดับและปรับปรุงห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
11. โครงการขยายผลระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสารสำหรับประโยชน์สาธารณะ
 
1
 
399653639 6761975487171154 6686405952732550282 n
 
399653681 6761978190504217 7189791423937802878 n
 
399694626 6761976683837701 1629776889454312425 n
 
399695842 6761978550504181 7463996055475421913 n
 

วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและ บริการวิชาการ เป็นประธานในพิธีเปิดรูปแบบออนไลน์ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวรายงานและร่วมพิธีเปิดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้การทดสอบและสาธิตพาหนะเคลื่อนที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า Electric Vehicle (EV Car) ผ่านระบบ ZOOM และ เฟชบุคไลฟ์ โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สทอภ. หรือ GISTDA (จิสด้า) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา จินดาเพ็ชร์ ผู้เป็นรับผิดชอบดำเนินโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีเชิงตำแหน่งความละเอียดสูงรองรับความร่วมมือทดสอบ 5G เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ภายใต้การส่งเสริมและสนับสนุนความช่วยเหลือในการดำเนินการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคม และ จิสด้า

          โครงการฯ ดังกล่าวได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคม จากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคม ระยะปีดำเนินการ 2563 – 2564 โดยกำหนดดำเนินการทดสอบและสาธิตพาหนะเคลื่อนที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า Electric Vehicle (EV Car) เพื่อการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากร ในการใช้นวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน สร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ และระบบนิเวศที่เป็นรูปธรรม และเปิดช่องทางการเรียนรู้เทคโนโลยีเชิงตำแหน่งความละเอียดสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถเชื่อมโยงการใช้งานจริงที่ยั่งยืน ที่เป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดการส่งเสริมเทคโนโลยีเชิงตำแหน่งความละเอียดสูงรองรับความร่วมมือการทดสอบ

          เทคโนโลยี 5G ในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการใช้ข้อมูลเชิงตำแหน่งรายละเอียดสูง (GNSS) และเทคโนโลยี 5G เพื่อให้เกิด การให้บริการข้อมูลและการใช้ข้อมูลจากผู้ประกอบการ เพื่อประยุกต์ใช้ในหลายภาคส่วน สามารถก่อให้เกิดการสร้างสรรค์มูลค่า (Value Creation) ได้จริงอย่างยั่งยืน

          ภายในงานวันนี้ได้มีกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้การทดสอบและ การสาธิตพาหนะเคลื่อนที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า Electric Vehicle (EV Car) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพื้นที่ต้นแบบการทดสอบนวัตกรรม 5G (Sandbox) เพื่อการพัฒนาพาหนะไร้คนขับนำทางด้วยเทคโนโลยีเชิงตำแหน่งความละเอียดสูง (GNSS)

5G ที่ ม.อ. ก้าวกระโดดสู่เทคโนโลยีโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาอนาคตของภาคใต้

วันนี้ (14 สิงหาคม 2562) คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แถลง การจัดตั้งศูนย์ทดสอบระบบโครงข่ายโทรคมนาคม 5G ณห้องประชุมดงยาง 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร.ณัฎฐา จินดาเพ็ชร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ร่วมด้วย ผู้แทน กสทช. ผู้แทนเครือข่ายสัญญานโทรศัพท์ค่ายต่างๆ  โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดเตรียมความพร้อมโครงสร้างในการติดตั้งสถานีฐาน และกำหนดขอบเขตพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ Regulatory sandbox สำหรับการทดสอบ 5 G เพื่อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและให้บริการประชาชนทั่วภาคใต้

ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้ลงนามความร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม(กสทช)แห่งชาติ ในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ  5G จัดเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานในการติดตั้งสถานีฐาน และกำหนดขอบเขตพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ (Regulatory sandbox) สำหรับการทดสอบ 5G

รองศาสตราจารย์ ดร. ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และประธานคณะกรรมการโครงการการศึกษาและจัดตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ 5G  กล่าวว่า “คณะฯ มีความพร้อมในการดำเนินงานขับเคลื่อน 5G ที่สอดคล้องกับ road map ของ กสทช. ทั้งในด้านการเรียนการสอนที่ได้การรับรองจากสภาวิศวกรในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร และทีมสหวิทยาการ ที่จะบูรณาการประยุกต์ใช้งาน (use case) ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรมในวงกว้าง ให้แก่ชุมชน และผู้ประกอบการ อาทิ ระบบสาธารณสุขทางไกล ความมั่นคง ขนส่งอัจฉริยะ อุตสาหกรรม 4.0 เกษตรอัจฉริยะ  อุปกรณ์เชื่อมต่อ Internet of Things (IoTs) และ Big Data เป็นต้น”

รศ.ดร.ณัฎฐา จินดาเพ็ชร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ม.อ. กล่าวว่า โดยลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ ความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ และความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  การใช้เทคโนโลยี 5G จึงต้องการจะเน้นไปที่ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดและดูแลสุขภาพทางไกลผ่านเครือข่ายสื่อสาร และระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะและการจัดการผลผลิตทางการเกษตรสมัยใหม่

สำหรับผู้สนใจและวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักวิจัย ผู้ให้บริการโครงข่าย ผู้ผลิต-นำเข้าอุปกรณ์ หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G สามารถยื่นขอเสนอเจตจำนงในการเข้าร่วมทดสอบระบบในพื้นที่ regulatory sandbox ผ่านผู้ประสานงานพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ 5G รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฎฐา จินดาเพ็ชร์  หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 e-mail:This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

เอกสารรายละเอียดเพิ่มเติม

1. คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่่องแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ "การศึกษาและจัดตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ 5G"

2. แผนการดำเนินการในการพิจารณา กลั่นกรอง ความร่วมมือกับผู้ประกอบการ