ต้นพุทธศตวรรษที่ 26 ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยเพียง 5 แห่ง แต่ละแห่งสอนเฉพาะทาง กล่าวคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นสอบด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เน้นสอนด้านสังคมและการเมือง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เน้นสอนด้านการเกษตร มหาวิทยาลัย แพทยสาสตร์ เน้นสอนด้านสุขภาพ และมหาวิทยาลัย ศิลปากร เน้นสอนด้านศิลปะ

มหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ล้วนตั้งอยู่ที่พระนคร หรือกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เพื่อเป็นการกระจายความรู้และความเจริญไปสู่ท้องถิ่น รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เริ่มดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค และได้เริ่มโครงการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ในภูมิภาคต่างๆ 'อย่างจริงจัง' ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มก่อสร้างขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2507 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปีถัดมาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เรียกชื่อสถาบันตามชื่อเมือง เริ่มก่อสร้างขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อต้นปี พ.ศ. 2507 ที่จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือ

มหาวิทยาลัยภาคใต้ เริ่มก่อสร้างขึ้นที่จังหวัดปัตตานี ในภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2509 (ปีถัดมา ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และได้มีการเพิ่มฐานการก่อสร้างหลัก ให้มีขึ้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2512 เคียงคู่ไปกับการพัฒนาที่จังหวัดปัตตานี
คณะวิชาแรกที่ตั้งใจก่อตั้งขึ้นที่จังหวัดปัตตานี คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่อาคารแรกเริ่มที่ได้รับการก่อสร้างขึ้นที่ตำบล รูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี มิเคยได้ถูกใช้งานเป็นคณะ วิศวกรรมสาสตร์เลย ปัตตานี ถูกมอบหมายหน้าที่ใหม่ให้ดูแลคณะทางด้านศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์

บนแผ่นดินที่ได้รับบริจาคจากคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร จำนวน 690 ไร่ เชิงเขาคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะวิศวกรรมศาสตร์ บนพื้นที่ 16 ไร่ ซึ่งแรกเริ่มจะ ประกอบด้วย 2 ภาควิชาแรก คือ วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมเครื่องกล ก็ได้รับการก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2512 ระหว่างนี้ นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับเข้ารุ่นแรกจำนวน 50 คน ในปี พ.ศ. 2510 และรุ่นถัดมา ต่างต้องศึกษาอยู่ในกรุงเทพฯ บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล (มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม ) โดยที่รุ่นหนึ่งนั้น ไม่ได้มาสัมผัสการเรียนที่ หาดใหญ่เลย ยกเว้นการลงในวิชาวิศวกรรมสำรวจเล็กน้อย
จากเสียงเพรียกเรียกร้อง ภาควิชาวิศวกรรมโยธาก็ได้มีโอกาสเกิดขึ้นพร้อมๆ กับสองภาควิชาแรก เมื่อนักศึกษารุ่นแรกที่ยังไม่ได้แยกภาควิชาเรียนขึ้นสู่ชั้นปีที่สอง