44
 
                    เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมดงยาง 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. ได้จัดแถลงข่าวของ PSU Healthcare Tech ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีพันธกิจในการออกแบบและพัฒนา ระบบและอุปกรณ์การติดตามการรักษา การทำกายภาพบำบัด และการดูแลสุขภาพ รับมอบใบประกาศรับรองคุณภาพ EN ISO 13485 : 2016 จาก TÜV SÜD ซึ่งเป็นผู้ตรวจกระบวนการการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือแพทย์ที่มีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล และออกใบรับรองการตรวจสอบการจัดการคุณภาพ เพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์ของห้องปฏิบัติการ PSU Healthcare Tech คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการผลิตตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพทางการแพทย์สูงสุด
 
                   ในการนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมประธานในพิธีและกล่าวเปิดงาน โดยมี ผศ.ดร.นิคม สุวรรณวร คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. กล่าวต้อนรับ รศ.ดร.ณัฎฐา จินดาเพ็ชร รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. กล่าวรายงาน ทั้งนี้คุณกุลธัช บุญบงการ ผู้จัดการทั่วไป บ. TÜV SÜD Thailand เป็นตัวแทนบริษัทมอบป้ายรับรองให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. โดยมีคณบดีและรองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้รับมอบ พร้อมทั้งนี้ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ความเป็นมาและการให้บริการด้าน ISO ของ บ. TÜV SÜD Thailand” ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านได้รับการบรรยาย และได้เยี่ยมชมนิทรรศการ PSU Healthcare Tech 5 นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ อีกด้วย
 
1 2
 
3 4
 

                   รศ.ดร.ณัฏฐา จินดาเพ็ชร รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า “PSU Healthcare Tech ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2564 โดยเริ่มต้นจากงานวิจัยที่ได้รับทุนของ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เรื่อง “ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสาร” ในปี 2557 ที่ได้ต้นแบบดังนี้คือ คือ 1.ระบบประมวลผลภาพสำหรับการวัดองศาของการเคลื่อนไหวข้อไหล่เพื่อใช้ในผู้ที่มีปัญหาข้อไหล่ติดหัวไหล่ (Shoulder joint rehabilitation monitoring devices) 2.ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยบริหารข้อเข่า (Knee rehabilitation monitoring devices)   3.ระบบประมวลผลภาพสำหรับติดตามการทำกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูปริมาตรปอด (Lung volume monitoring devices) และ 4.ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยบริหารกล้ามเนื้อหายใจ (Respiratory therapy devices) จากนั้นในปี 2562 ได้รับทุนวิจัยจากกองทุน กทปส. ต่อเนื่องเพื่อที่จะขยายผลจากระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสาร โดยให้เพิ่มจำนวนข้อมูลจากระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสารที่เพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ของนักกายภาพบำบัดในการช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดยังรวมถึงผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับการใช้งานและสร้างความสนใจต่อผู้ป่วยให้ทำกายภาพมากขึ้นในแง่การแสดงเป็นค่าทางดิจิตัลเพื่อให้ได้เห็นพัฒนาการจากการทำกายภาพบำบัดที่ชัดเจนมากขึ้น  PSU Healthcare Tech ได้รับการจัดตั้งเพื่อทำงานวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการแพทย์โดยการนำร่องเทคโนโลยีทางกายภาพบำบัดซึ่งจะทำงานเชื่อมโยงและร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ หรือบริษัทจัดหา (Provider) ภายในประเทศเพื่อแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านการแพทย์

                   PSU Healthcare Tech เป็นหน่วยงานที่ประกอบธุรกิจการออกแบบและพัฒนา ระบบและอุปกรณ์การติดตามการรักษา การทำกายภาพบำบัด และการดูแลสุขภาพ หน่วยงานฯมีความมุ่งมั่นในอันที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และให้บริการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือ ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ  เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายนี้ ทาง PSU Healthcare Tech  จึงได้มีการกำหนดนโยบายคุณภาพ คือ

"มุ่งมั่นออกแบบและพัฒนาระบบ อุปกรณ์ติดตามผลการรักษา การทำกายภาพบำบัด และการดูแลสุขภาพให้ได้มาตรฐาน ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และเพื่อประโยชน์สู่สังคม"

PSU Healthcare Tech ได้ดำเนินการตามระบบบริหารคุณภาพISO 13485: 2016 โดยมีขอบเขตครอบคลุมการออกแบบและพัฒนา ระบบและอุปกรณ์การติดตามการรักษา การทำกายภาพบำบัด และการดูแลสุขภาพซึ่งปัจจุบันที่ดำเนินการไปแล้วได้แก่  

                   1. ระบบประมวลผลภาพสำหรับการวัดองศาของการเคลื่อนไหวข้อไหล่เพื่อใช้ในผู้ที่มีปัญหาข้อไหล่ติดหัวไหล่ (Shoulder joint rehabilitation monitoring devices)

                   2. ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยบริหารข้อเข่า (Knee rehabilitation monitoring devices)

                   3. ระบบประมวลผลภาพสำหรับติดตามการทำกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูปริมาตรปอด (Lung volume monitoring devices)

                   4. ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยบริหารกล้ามเนื้อหายใจ (Respiratory therapy devices)
 
5 6
 
7 8
 
9 10